อีซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
อีซา
عيسى
พระเยซู

สันติจงมีแด่ท่าน
Jesus Name in Arabic.gif
ชื่อ อีซา อิบน์ มัรฺยัม ในภาษาอาหรับ พร้อมกับคำว่าสันติจงมีแด่ท่าน
ชื่อจริงישוע Yēšūă‘
เกิด4 ปีก่อนคริสตกาล
จูเดีย จักรวรรดิโรมัน
สาบสูญค.ศ. 30–33
เกทเสมนี เยรูซาเลม จักรวรรดิโรมัน
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนยะฮ์ยา (ยอห์นผู้ให้บัพติศมา)
ผู้สืบตำแหน่งมุฮัมหมัด
บิดามารดามัรฺยัม (มารีย์) [แม่]
ญาติยะฮ์ยา (ยอห์นผู้ให้บัพติศมา)
ซาการียา (เศคาริยาห์)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ศาสนาอิสลาม
อักษรอารบิกเขียนว่า อัลลอฮ์
ประวัติศาสนาอิสลาม
พระเป็นเจ้า
อัลลอฮ์
ศาสดา
มุฮัมมัด
การปฏิบัติ
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์
บุคคลสำคัญ
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นูฮ์
คัมภีร์
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร
ธรรมนูญและกฎหมาย
อัลกุรอาน · ซุนนะฮ์ · ชะรีอะฮ์ · ฟิกฮ์
จุดแยกอะกีดะฮ์
ซุนนี · ชีอะฮ์
สังคมศาสนาอิสลาม
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล
ดูเพิ่มเติม
ญิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม

บทความนี้เป็นทัศนะของอิสลาม ซึ่งแตกต่างจากพระเยซูในทัศนะของคริสต์ศาสนิกชน

อีซา อิบน์ มัรยัม (อาหรับ: عيسى بن مريمเขียนทับศัพท์: ʿĪsā ibn Maryām "อีซาบุตรนางมัรยัม") คือบุคคลเดียวกันกับ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ แต่ในคติของศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียงศาสนทูตท่านหนึ่งของอัลลอฮ์[1][2]

ประวัติของนบีอีซา[แก้]

มัรยามและนบีอีซา (ภาพศิลปะเปอร์เซีย)

คัมภีร์อัลกุรอาน ได้อธิบายเฉพาะช่วงที่มลาอิกะฮ์ตนหนึ่งจำแลงกายเป็นบุรุษเข้ามาพบกับนางมัรยัมและบอกนางว่า นางจะได้บุตรโดยปราศจากบิดา เมื่อใกล้คลอดให้หนีออกไปคลอดบริเวณชานเมือง ที่โคนต้นอินทผลัม หลังจากคลอดแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทรงบันดาลให้มีตาน้ำไหลออกมาให้นางได้ดื่ม เมื่อพาบุตรกลับมาจึงถูกถามและกล่าวหาว่านางได้ผิดประเวณีจนได้บุตรไร้บิดา นางไม่ยอมพูด แต่เด็กนบีอีซาเอ่ยว่า “ ท่านทั้งหลาย  ฉันคือบ่าวของอัลลอฮฺ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ให้แก่ฉัน และทรงแต่งตั้งฉันให้เป็นนบี พระองค์ทรงให้ความจำเริญแก่ฉัน  พระองค์ทรงสั่งเสียฉันให้ทำการละหมาด จ่ายซะกาต พระองค์ทรงใช้ฉันให้ทำความดีแก่มารดา และแท้จริงอัลลอฮ์คือพระเจ้าของฉัน และพระเจ้าของพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงเคารพภักดีพระองค์เถิด ” แต่อย่างไรก็ตามชาวคริสต์แห่งนัจญรอนได้กล่าวว่า นบีอีซาเป็นบุตรของอัลลอฮฺ ส่วนชาวยิวและก็อดยานียฺได้กล่าวว่า นบีอีซามีพ่อชื่อยูซุฟ อันนัจญาร เป็นต้น[3]ปรากฏในซูเราะฮฺมัรยัม

นบีอีซาเป็นบุคคลหนึ่งในเผ่ายูดาห์ของบนีอิสรออีล (หมายถึงท่านได้สืบเชื้อสายจากยะฮูด และอยู่ในตระกูลที่มักจะมีนบีมา) นบีอีซาได้ประกาศเทศนาเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ ด้วยการยืนยันว่าท่านยึดในศาสนาดั้งเดิมของบนีอิสรออีล ซึ่งคือศาสนาของท่านนบีมูซา แต่ท่านนะบีอีซามีหน้าที่ในการปรับบทบัญญัติบางส่วนที่มีอยู่ในอัตเตารอต โดยนำอัลอินญีลเป็นคัมภีร์ใหม่สำหรับบะนีอิสรออีล แต่ชาวยิวส่วนมากกลับไม่ยอมรับท่านนบีอีซา ได้ประกาศการปฏิเสธว่าท่านเป็นนบีของชาวบะนีอิสรออีล และกลับไปวางแผนเพื่อฆ่าและร่วมมือกันต่อต้านนะบีใหม่ที่มายังบะนีอิสรออีล ตอนนั้นบะนีอิสรออีลอยู่กับท่านนบีอีซาที่เมืองฟิลิสฏีนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน[4]

เมื่อถึงยุคท่านนบีอีซา ท่านได้เทศนาสู่อีมานอันเที่ยงธรรมเหมือนบรรดานบีทั้งหลาย ยิวและโรมันไม่พอใจ พวกยิวด่าและประณามนบีอีซา แต่ท่านก็ยืนยันในคำบัญชาของอัลลอฮฺที่ต้องเผยแผ่ศาสนา เมื่อพวกยิวไม่ประสบความสำเร็จจึงไปร่วมมือกับโรมัน ชาวยิวซึ่งเป็นเผ่าตระกูลของนบีอีซาประท้วงและทำทุกวิถีทางเพื่อให้นบีอีซาพ้นจากชีวิตพวกเขา กษัตริย์โรมันจึงมีคำสั่งให้ฆ่าท่านนบีอีซาแล้วตรึงบนไม้กางเขน[4]

การเกิดของ นบีอีซา ตามคัมภีร์อัลกุรอาน[แก้]

และจงกล่าวถึง (เรื่องของ) มัรยัมที่อยู่ในคัมภีร์ เมื่อนางได้ปลีกตัวออกจากหมู่ญาติของนาง ไปยังมุมหนึ่งทางตะวันออก (ของบัยตุลมักดิส)

แล้วนางได้ใช้ม่านกั้นให้ห่างพ้นจากพวกเขาแล้ว เราได้ส่งวิญญาณของเรา (ญิบรีล) ไปยังนางแล้ว เขาได้จำแลงตนแก่นาง ให้เป็นชายอย่างสมบูรณ์

นางกล่าวว่า “แท้จริงฉันขอความคุ้มครองต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานีให้พ้นจากท่าน หากท่านเป็นผู้ยำเกรง”

เขา (ญิบรีล) กล่าวว่า “แท้จริงฉันเป็นเพียงทูตแห่งพระเจ้าของเธอ เพื่อฉันจะให้ลูกชายผู้บริสุทธิ์แก่เธอ”

นางกล่าวว่า “ฉันจะมีลูกได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ไม่มีชายใดมาแตะต้องฉันเลย และฉันก็มิได้เป็นหญิงชั่ว”

เขา (ญิบรีล) กล่าวว่า “กระนั้นก็เถิด พระเจ้าของเธอตรัสว่า มันง่ายสำหรับข้า และเพื่อเราจะทำให้เขาเป็นสัญญาณหนึ่งสำหรับมนุษย์และเป็นความเมตตาจากเรา และนั่นเป็นกิจการที่ถูกกำหนดไว้แล้ว”

แล้วนางได้ตั้งครรภ์ และนางได้ปลีกตัวออกไปพร้อมกับบุตรในครรภ์ ยังสถานที่ไกลแห่งหนึ่ง

มัรยัม :16-22

ปาฏิหาริย์(มุอฺญิซาต)แห่งนบีอีซา[แก้]

คัมภีร์อัลกุรอานได้ระบุว่า เยซูได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ในจำนวนนั้นคือ การรักษาคนเป็นโรคเรื้อน การชุบชีวิตคนตาย การเรียกสำรับอาหารจากฟ้า และการเป่าก้อนดินเหนียวให้เป็นสัตว์มีปีกบินได้

การจากไปของนบีอีซา[แก้]

นบีอีซาขณะเทศนาและให้พรแก่ศาสนิก (ภาพศิลปะเปอร์เซีย)

การจากไปของนบีอีซา มีทัศนะที่แตกต่างกับในทัศนะของคริสต์ศาสนาอย่างชัดเจน โดยในพระคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวว่าอีซายังไม่ได้ตาย แต่ผู้ที่ถูกตรึงทีไม้กางเขนเป็นผู้อื่น ส่วนพระวรสารนักบุญบารนาบัส ได้ระบุไว้ว่า ผู้ที่ถูกตรึงกางเขนนั้นคือ เยฮูดาห์ โดยในทัศนะของชาวมุสลิม นบีอีซามิได้ถูกฆ่า เพราะในพระคัมภีร์ อัลลอหฺได้กล่าวไว้ว่า[4]

وَمَا قَتَلُوهُ وَمَا صَلَبُوهُ وَلَـكِن شُبِّهَ لَهُمْ
และพวกเขาหาได้ฆ่าอีซา และหาได้ตรึงเขาบนไม้กางเขนไม่ แต่ทว่าเขาถูกให้เหมือนแก่พวกเขา

– อันนิซาอฺ 4:157

ชาวมุสลิมเชื่อว่าท่านนบีอีซาไม่ได้ถูกตรึงบนไม้กางเขนเป็นอันขาด แต่เป็นภาพลวงที่เกิดขึ้นสำหรับชาวยิว เพราะยาฮูซาซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านนบีอีซาอกตัญญู ไปบอกที่อยู่ของท่านนบีอีซา ขณะที่ท่านหลบหนีจากยิวและโรมัน จึงมีตำรวจมาจะจับท่านนบีอีซา ปรากฏว่าอัลลอฮฺทำให้หน้าตาและร่างกายของลูกศิษย์ท่านคนนี้ให้เหมือนท่านนบีอีซา ยาฮูซาจึงถูกจับไปโดยเชื่อว่าเป็นนบีอีซา แล้วนำไปประหารชีวิตและตรึงบนไม้กางเขน ในทัศนะของชาวมุสลิมเองก็มีความเชื่อตรงกันกับชาวคริสต์ที่เชื่อว่า นบีอีซาถูกยกไปยังสวรรค์ดังในพระคัมภีร์อัลกุรอาน[4]

بَل رَّفَعَهُ اللّهُ إِلَيْهِ
หามิได้ อัลลอฮฺได้ทรงยกเขา (อีซา) ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก

– อันนิซาอฺ 4:158

แต่อย่างไรก็ตามมีการสับสนเกี่ยวกับคำศัพท์ในพระคัมภีร์อัลกุรอานว่าก่อนนบีอีซาขึ้นไปสวรรค์ ขณะนบีอีซายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ อิหม่ามอิบนิกะซีรบอกว่ามี 2 ทัศนะ ทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าสำหรับชาวอะหฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺคือ ท่านนะบีอีซาไม่ตาย และอีกทัศนะหนึ่งจากบรรดานักปราชญ์อิสลามเห็นว่าท่านนะบีอีซาเสียชีวิตก่อนถูกยกขึ้นสวรรค์ ซึ่งในเรื่องนี้นักวิชาการส่วนใหญ่ก็ให้ความหมายว่า ทำให้นอนหลับ-ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร[5] โดยในซูเราะฮฺอาละอิมรอน อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า[4]

إِلَيَّ إِذْ قَالَ اللّهُ يَا عِيسَى إِنِّي مُتَوَفِّيكَ وَرَافِعُكَ
จงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อีซา ข้าจะเป็นผู้รับเจ้าไปพร้อมด้วยชีวิตและร่างกายของเจ้า และจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้า

– ศอด 38:82

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Cyril Glassé ; introduction by Huston (2001). The new encyclopedia of Islam (Édition révisée. ed.). Walnut Creek, CA: AltaMira Press. p. 239. ISBN 9780759101906.
  2. Parrinder, Geoffrey (1996). Jesus in the Quran. Oxford Oneworld. ISBN 1851680942.
  3. ترجمات القرآن
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 ชีวประวัติท่านนะบีอีซา อะลัยฮิสสลาม จากบล็อกโอเคเนชัน
  5. มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]